ในการเขียนบทความที่มีความยาวและมีหลายหัวข้อ การที่เราสร้างสารบัญลงไปในบทความ จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถกดเลือกเพื่ออ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อ SEO อีกด้วย สำหรับการสร้างสารบัญใน WordPress แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ ไม่ใช้ Plugin กับใช้ Plugin
สารบัญ
1. สารบัญคืออะไร
2. การสร้างสารบัญโดยไม่ใช้ Plugin (Gutenberg is WordPress Block Editor)
3. การสร้างสารบัญโดยใช้ Plugin : Easy Table of Contents
4. การสร้างสารบัญโดยใช้ Page Builder : Elementor
5. สรุป
1. สารบัญ คืออะไร
สารบัญในที่นี่ก็มีความหมายเดียวกับสารบัญในหนังสือ ส่วนในบทความ WordPress นั้น มันคือทางลัดในการเข้าไปที่หัวข้อในบทความนั้นๆ ได้โดยตรง ซึ่งในบทความที่มีความยาวและแตกออกเป็นหลายประเด็น การทำสารบัญจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงหัวข้อที่ต้องการอ่านได้ทันที
2. การสร้างสารบัญโดยไม่ใช้ Plugin
Editor ของ WordPress นั้น อำนวยความสะดวกให้กับเราแล้ว โดยเราสามารถสร้างสารบัญได้เองเลยจาก Editor ที่ใช้สร้างบทความของ WordPress ในที่นี้จะขอแนะนำการสร้างสารบัญด้วย Gutenberg WordPress Block Editor ซึ่งเป็น Block Editor ที่เริ่มใช้กับ WordPress ตั้งแต่เวอร์ชั่น 5 เป็นต้นมา
ขั้นตอนการสร้างสารบัญ
ที่หน้า Edit บทความ เขียนเนื้อหาเรียบร้อยและสร้างหัวข้อไว้ให้พร้อมดังภาพ

การใส่ Link นั้นจะใส่ไว้ที่หัวข้อเลยก็ได้ หรือใส่ไว้ที่ Block Spacer ที่อยู่บนหัวข้อนั้นๆ โดยถ้าเราต้องการให้เมื่อคลิกแล้วจะได้ Space ก่อนที่จะมาที่หัวข้อ ซึ่งถ้าใส่ไว้ที่ Block ของหัวข้อโดยตรง เมื่อคลิกมาที่หัวข้ออาจจะชิดหน้าจอด้านบนเกินไป

ที่ Block Spacer ให้คลิกที่ Tab Block ทางด้านขวา คลิกที่ Advanced -> HTML anchor ใส่คำที่ต้องการ เช่น choice01

ที่หัวข้อที่ทำไว้เป็นสารบัญ ให้คลิกลากคลุมหัวข้อที่ตรงกับ HTML anchor ที่เพิ่งใส่ไป แล้วคลิกที่ Link เพื่อสร้าง Link ที่หัวข้อสารบัญ

พิมพ์คำว่า #choice01 ลงไป และกด Submit

ทำให้ครบทุกหัวข้อ โดยชื่อที่ใส่ลงไปใน HTML anchor ของแต่ละหัวข้อห้ามซ้ำกัน และอย่าลืมเวลาสร้าง Link ที่หัวข้อสารบัญ ต้องใส่ # ก่อนที่จะพิมพ์คำ HTML anchor ด้วย เช่น
HTML anchor ใส่ choice02 – การสร้าง Link ก็ต้องใส่เป็น #choice02
ไปดูที่หน้าบทความ เมื่อเอาเมาส์ชี้ไปที่ Link ของหัวข้อใด บริเวณแถบ Status Bar ด้วยล่างก็จะโชว์ Link ของบทความโดยจะมีคำว่า #choice01 ต่อท้าย

เมื่อคลิก Link หน้าจอก็จะเลื่อนมาที่หัวข้อนั้นๆ
การสร้าง Link ในลักษณะนี้ ถือเป็นการสร้าง Internal Link ในบทความ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำ On-Page SEO โดยใช้หลักการพื้นฐานของ HTML, CSS แต่ว่าใน WordPress อำนวยความสะดวกให้เราใส่ได้แบบง่ายๆ สำหรับคนที่สนใจเกี่ยวกับ HTML, CSS สามารถเข้าไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ W3Schools HTML 5 A Href Anchor
3. การสร้างสารบัญโดยใช้ Plugin : Easy Table of Contents
เป็นวิธีที่ง่ายและและเร็ว เมื่อลง Plugin แล้วกำหนดค่าต่างๆก็ใช้ได้เลยกับทุกบทความ โดยปลั๊กอินที่จะใช้คือ Easy Table of Contents จะเป็นการกำหนดให้เมื่อมีการใช้ tag h1-h6 จะดึงเอา Heading นั้นมาทำเป็นสารบัญ โดยกำหนดได้ว่าจะใช้ Heading ใดมาทำเป็นสารบัญ และกำหนดขั้นต่ำว่าต้องมีการเขียน Heading กี่ครั้งถึงจะนำมาแสดงเป็นสารบัญ
ไปที่ Plugins -> Add New

ที่ช่อง Keyword ใส่คำค้นหาว่า Easy Table of contents จะเจอตัวแรกเลย ให้ Install และ Activate ให้เรียบร้อย

ไปที่ Settings -> Table of Contents

ตั้งค่าการใช้งาน
- General
Enable Support – เปิดใช้งานกับอะไรข้อมูลแบบไหนบ้าง ในที่นี่จะเลือกเฉพาะ Posts

Auto Insert – จะให้สร้างสารบัญโดยอัตโนมัติกับข้อมูลแบบไหน ในที่นี่จะเลือกเฉพาะ Posts

Position – จะให้แสดงสารบัญในตำแหน่งไหน ค่า Default คือ Before first heading แสดงก่อนที่จะเจอหัวข้อแรกในหน้าบทความ

Show when – กำหนดจำนวนเมื่อมีการใช้ Tag Heading กี่ครั้งถึงจะมีการสร้างสารบัญให้

Header Label – ถ้าติ๊กเลือก Display Header Label ก็มาใส่หัวข้อสารบัญที่นี่
โดยหัวข้อสารบัญจะแสดงทุกบทความที่มีการใช้สารบัญ ตรงนี้จริงๆแล้วเราจะเลือกไม่แสดงหัวข้อสารบัญก็ได้ แล้วไปกำหนดหัวข้อเองที่บริเวณด้านบนของสารบัญ ซึ่งจะยึดหยุ่นกว่าเพราะจะใส่ชื่่อหัวข้อได้เองโดยไม่ซ้ำกันในทุกบทความ

Toggle View – จะให้มีปุ่มเปิดปิดสารบัญ ให้ผู้ใช้เปิด-ปิดสารบัญได้เองหรือไม่
Initial View – จะให้สารบัญปิดอยู่หรือไม่
Show as Hierarchy – กำหนดให้แสดงหัวข้อแบบลำดับชั้น

ในส่วนของ Appearance จะเป็นการปรับแต่งฟอนต์ สีสันต่างๆ ความกว้างยาวของสารบัญ ส่วนนี้สามารถปรับแต่งได้ตามสะดวก

- Advanced
ส่วนนี้จะปรับที่ Headings เป็นการกำหนดประเภทของ Heading ที่ต้องการให้นำมาทำเป็นสารบัญ

ที่หน้าสร้างบทความ กำหนดหัวข้อให้เรียบร้อย

สารบัญก็จะโชว์ที่หน้าแสดงบทความโดยอัตโนมัติ

ในหน้าสร้างบทความ เมื่อเลื่อนลงมาด้านล่างจะมี Tab Table of Contents ถ้าติ๊กถูกที่ Disable the automatic insertion of the table of contents. จะเป็นการปิดการใช้งานสารบัญในบทความนี้

เมื่อเลื่อนลงมาที่ Headings ตรงนี้เราสามารถเปลี่ยนประเภทของ Heading ที่ต้องการให้นำมาทำเป็นสารบัญ เฉพาะบทความนี้ได้

ข้อดีของการใช้ปลั๊กอิน Easy Table of Contents
- ไม่ต้องสร้างเอง เมื่อมีการใช้ Tag Heading ที่ระบุไว้และถึงจำนวนครั้งที่กำหนด ก็จะนำมาแสดงเป็นสารบัญให้ทันที
- ใช้ได้ทุกบทความ ไม่ต้องสร้างใหม่ทุกครั้งที่มีการเขียนบทความ
- บทความใดที่ไม่ต้องการทำสารบัญก็สามารถปิดการใช้งาน Plugin ได้
4. การสร้างสารบัญโดยใช้ Page Builder : Elementor เวอร์ชั่นฟรี
การสร้างสารบัญด้วย Elementor นั้นทำได้ 2 แบบ คือแบบ Elementor ฟรี กับ Elementor Pro โดยการสร้างด้วย Elementor ฟรี วิธีการก็จะคล้ายๆกับ Gutenberg WordPress Block Editor จะแต่ต่างกันที่ตำแหน่งเครื่องมือเท่านั้น ซึ่งการใช้ Elementor ก็ดูจะเหมาะกับการสร้าง Page มากกว่า
สำหรับ Elementor Pro จะมี Widget ที่ชื่อ Table of Contents มาให้ หลักการใช้ก็จะคล้ายๆกับ Plugin : Easy Table of Contents คือจะใช้ tag h1-h6 เป็นหัวข้อสารบัญ
การสร้างสารบัญด้วย Elementor เวอร์ชั่นฟรี
สร้างหัวข้อและเนื้อหาไว้ให้เรียบร้อย

ใส่ ID ปลายทางของหัวข้อ โดยคลิกที่ Edit Section ของเนื้อหาที่ต้องการ

ที่ Sidemenu ด้านซ้าย คลิกที่ Advanced ใส่คำที่ต้องการที่ CSS ID ในที่นี้จะใส่เป็น choice01

จากนั้นไปที่หัวข้อ โดยคลิก Section ของหัวข้อ ที่ Sidemenu ด้านซ้าย คลิกลากคลุม 1. หัวข้อที่ 1 แล้วคลิกไอคอนรูปโซ่ เพื่อใส่ Link

ใส่คำว่า #choice01 และทำในหัวข้ออื่นๆให้ครบ

สรุป
การสร้างสารบัญนอกจากจะทำให้บทความที่มีความยาวและหลายหัวข้อ มีระเบียบและอ่านง่ายแล้ว ยังส่งผลต่อ SEO โดยตรงอีกด้วย เพราะจะทำให้ Google เข้าใจเนื้อหาของเราได้ดีขึ้น นอกจากนี้ถ้าเราทำเนื้อหาโดยแบ่งเป็นหัวข้อได้ดี อาจจะส่งผลให้ติด Google แบบ Order list Snippet ที่ตำแหน่ง 0 ได้
