คำถาม | ทำไมต้องติดตั้ง WordPress บนระบบปฎิบัติการ Windows (localhost – Xampp) ก่อน ไม่ติดตั้งบน Hosting ไปเลย ทำงานทีเดียวจบ
คำตอบ | เพื่อทดสอบทุกอย่างก่อนเปิดใช้งานจริง ซึ่งต้องมีระยะเวลาในการติดตั้ง ตั้งแต่ Theme, Plugin สร้างหน้า Page ,Header, Footer ทั้งหมดนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น ยิ่งถ้าเป็นเว็บขนาดกลางถึงใหญ่ สมควรอย่างยิ่งที่จะทดสอบบน localhost ก่อน หรือกรณีที่ต้องการลง WordPress ไว้ทดสอบ Theme, Plugin ต่างๆ ทางเลือกของการติดตั้ง WordPress บน localhost ก็เหมาะสม

แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณ๊ ถ้าเป็นเว็บเล็กๆเช่น Landing Page 1 หน้า, เว็บองค์กร 5-10 หน้า มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน เช่นจะใช้ Theme, Plugin อะไรบ้าง อาจจะติดตั้งบน Hosting ไปเลยก็ได้
1. Download WordPress เวอร์ชั่นล่าสุดมาลงเครื่อง
2. Copy ไฟล์/โฟลเดอร์ทั้งหมดไปที่ XAMPP
3. Start Apache /MySQL
4. สร้าง database / เลือก collation เป็น utf8mb4_unicode_ci (ข้อมูลเรื่อง UTF8MB4)
5. ตั้งค่าไฟล์ wp-config.php
6. Install WordPress
7. Login เข้า WordPress

ขั้นตอนที่ 1. Download WordPress เวอร์ชั่นล่าสุดมาลงเครื่อง
*ขณะที่เขียนบทความนี้ เวอร์ชั่นล่าสุดของ WordPress คือ 5.6 ออกมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2020
เข้าไปที่ https://wordpress.org/ คลิกที่ปุ่ม Get WordPress (ปุ่มสีฟ้า มุมบนขวา)

คลิก Download WordPress

ขั้นตอนที่ 2. Copy ไฟล์/โฟลเดอร์ทั้งหมดไปที่ XAMPP
แตกไฟล์ wordpress ที่ดาวน์โหลดมา ซึ่งเป็น .zip ออก

Copy ทุกอย่างไปที่ path:/XAMPP/htdocs/yourfolder
(โดยปกติค่า Default การติดตั้งถ้าไมได้ไปแก้ไขอะไร Xampp จะถูกติดตั้งที่ C:/XAMPP)

yourfolder -> คือ ชื่อโฟลเดอร์ที่เราตั้งขึ้น (ในที่สมมุติว่าเป็น wordpress56)
ขั้นตอนที่ 3. Start Apache /MySQL
เปิด XAMPP Control Panel ขึ้นมา แล้ว Start ที่ Apache และ MySQL เสร็จแล้วก็ย่อหน้าต่างลงไปโดยกดที่ปุ่ม X

ซึ่งระหว่างการทำเว็ยไซต์ Service Apache และ MySQL ต้องเปิดตลอดเวลาที่มีการติดต่อกับ database

ขั้นตอนที่ 4. สร้าง database / เลือก collation เป็น utf8mb4_unicode_ci
ถัดจากขั้นตอนที่ 3 ให้เปิด Browser พิมพ์ localhost ที่ช่อง url แล้วกด Enter
ที่แถบเมนูด้านบน คลิกที่ phpMyAdmin เพื่อเข้าไปสร้าง database

คลิกที่ new ที่เมนุด้านซ้าย

ใส่ชื่อ Database, เลือก collation เป็น utf8mb4_unicode_ci, กด Create

ขั้นตอนที่ 5 : ตั้งค่าไฟล์ wp-config.php
ดับเบิ้ลคลิกไฟล์ wp-config-sample.php เพื่อเข้าไป Config ค่าเกี่ยวกับ Database

รายละเอียดการ config
ตัวย่อ DB = Database
การใส่ค่าต้องอยู่ภายในเครื่องหมาย single quote คือเครื่องหมายนี้ ‘ เปิดและปิด เช่น ‘123’
ใช้โปรแกรมประเภท text editor ในการแก้ไข เช่น Note Pad, Word Pad หรือ VS Code

DB_NAME – ใส่ ชื่อของ database ที่เราสร้างขึ้นมา
DB_USER – บน localhost ปกติแล้วค่า Default จะเป็น root
(ถ้าเป็นการติดตั้ง WordPress บน hosting ส่วนใหญ่จะใช้ชื่อเหมือนกับ DB_NAME หรือแล้วแต่เราตั้ง)
DB_PASSWORD – ใส่ password ของ database (ปกติค่า Default ของ XAMPP จะไม่มีการตั้ง password ให้เว้นว่างไว้)
DB_HOST – ใส่เป็น localhost

ตัวอย่างการตั้งค่า config
DB_NAME = wordpress56
DB_USER = root
DB_PASSWORD = ปล่อยว่าง (แต่ต้องลบคำว่า password_here ออกด้วย เพราะระบบใส่มาเพื่อให้เรารู้ต้องใส่อะไร)
DB_HOST = localhost
จากนั้นให้ Save As ตั้งชื่อไฟล์เป็น wp-config.php

ขั้นตอนที่ 6. Install WordPress
เปิด Browser ใส่ url เป็น http://localhost/wordpress56 ถ้าไม่เคยติดตั้ง WordPress มาก่อน WordPress จะพาไปหน้า Install โดยอัตโนมัติ

หน้าแรกจะให้เลือกภาษาหลักของส่วน Backend แนะนำให้เลือกภาษาอังกฤษ เพื่อความง่ายในการค้นหาข้อมูลเวลาที่ติดปัญหาในการใช้งาน

Site Title – ใส่ชื่อเว็บ ส่วนนี้จะขึ้นที่ Tab Title ของ Browser เวลาเปิดเว็บไซต์ ด้วย(ถ้ายังนึกไม่ออกใส่อะไรไปก่อนก็ได้
เพราะสามารถเข้าไปแก้ไขได้ภายหลัง)
Username – เป็น username ของ admin ใช้ Login เข้า WordPress (คนละตัวกับ username ของ database)
(ไม่ควรใช้ชื่อว่า admin)
Password – เป็น password ของ admin ที่ใช้ Login เข้า WordPress ในส่วนนี้ WordPresss จะสุ่มข้อความมาให้เลย
(คนละตัวกับ password ของ database)
Your E-Mail – ใส่อีเมลของเรา

เสร็จแล้วคลิก Install WordPress

รอสักครู่ ถ้าใส่ค่าในไฟล์ wp-config.php ตามขั้นตอนที่ 5 ถูกต้อง หน้าจอก็จะขึ้นว่า Success! เป็นอันว่าการติดตั้ง WordPress เสร็จสมบูรณ์

ขั้นตอนที่ 7. Login เข้า WordPress
จากขั้นตอนที่ 6 ให้คลิกที่ปุ่ม Log in เพื่อเข้าสู่หน้า Backend ของ WordPress
ช่องบน จะใส่ Username หรือ Email ก็ได้

ก็จะเข้าสู่หน้า dashboard ในส่วนของ Backend เป็นอันว่าการติดตั้ง WordPress ลงบน Windows (localhost) โดยใช้ Xampp เป็นโปรแกรมจำลอง Server เสร็จสมบูรณ์
