Google Tag Manager หรือที่เรียกกันแบบย่อๆว่า GTM เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับบริหารและจัดการ Tag (TMS = Tag Managment System) โดยหน้าที่ของ Google Tag Manager จะเป็นที่รวมรวบ Tag จากแพลตฟอร์มต่างเช่น Google Analytics, Google AdWords, หรือ Facebook Pixel เอาไว้ในที่เดียว ทั้งนี้ก็เพื่อให้ง่ายในการจัดการ เพียงแค่นำ Code จากแพลตฟอร์มที่เราใช้มาติดไว้ที่ Google Tag Manager แล้วนำ Code Google Tag Manager ไปติดไว้ที่เว็บไซต์ ซึ่งจะง่ายกว่าการนำ Code จากทุกแพลตฟอร์มไปติดที่เว็บไซต์
Google Tag Manager เป็นบริการฟรีและยังรองรับ Tag หลากหลายแพลตฟอร์ม โดยสามารถเข้าไปดูแท็กที่รองรับได้จาก Link นี้
Google Tag Manager ใช้ทำอะไร
ถ้าจะเปรียบเทียบกับการสร้างเว็บ ก็เปรียบเสมือนว่า Google Tag Manager คือ Container ในภาษา CSS นั่นเอง ประโยชน์ของ Google Tag Manager ก็คือใช้สำหรับบรรจุ Code จากแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ปกติแล้วเมื่อเราสร้าง Tag จากแพลตฟอร์มต่างๆ อาทิเช่น Google Analytics, Google AdWords, หรือ Facebook Pixel เสร็จแล้ว เราก็ต้องเอา Code จากทุกแพลตฟอร์มไปติดตั้งที่เว็บไซต์ ซึ่งจะง่ายกว่าถ้าเรานำ Code จากแพลตฟอร์มต่างๆมาติดตั้งที่ Google Tag Manager แล้วนำ Code ของ GTM ไปติดตั้งที่เว็บไซต์เพียง Code เดียว
นอกจากนี้ Google Tag Manager ยังสามารถแยกการเก็บข้อมูลเฉพาะหน้า Page ที่เราต้องการได้ หรือการทำ Event Tracking โดยการกำหนดการทำงานของ Tag ผ่านทาง Trigger
ส่วนประกอบของ Google Tag Manager
การที่ Google Tag Manager จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์นั้น จะประกอบไปด้วย 3 สิ่ง ก็คือ Tags, Triggers, Variables
- Tags คือ ชุดโค้ดสั้นๆที่ได้มาจากแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Google Analytics ที่เอาไว้เก็บข้อมูลของผู้ใช้ที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์
- Triggers คือ สิ่งที่ใช้กำหนดการทำงานของ Tag ว่าจะให้ Tag ทำงานอะไร อย่างไรบ้าง
- Variables ถ้าแปลตรงตัวก็คือตัวแปร โดย Variables เป็นตัวแปรที่บรรจุข้อมูลที่มีไว้เพื่อให้ Triggers ทำงานได้อย่างถูกต้อง
ค่าเริ่มต้นของ Variables จะมี Built-In Variables มาให้ 5 ชนิด คือ Event, Page Hostname, Page Path, Page URL, Referrer โดยเราสามารถเลือกเพิ่มได้เองจาก 9 กลุ่ม คือ Pages, Utillties, Errors, Clicks, Forms, History, Videos, Scrolling, Visibillity
การสมัครใช้งาน Google Tag Manager

ไปที่ https://tagmanager.google.com

ลงชื่อเข้าใช้งานอีเมล์

จะเข้าสู่หน้า Accounts

คลิกที่ปุ่ม Create Account เพื่อเพิ่มบัญชีใหม่

Tab Account Setup
ใส่ชื่อบัญชีทีช่อง Account Name
ช่อง Country เลือก Thailand
Tab Container Setup
ช่อง Container name ใส่ URL เว็บ
ช่อง Target platform เลือก Web
จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Create

จากนั้น ระบบจะแสดงหน้าต่างข้อกำหนดในการให้บริการ ให้ติ๊กถูกที่ I also accept แล้วคลิกที่ปุ่ม Yes

ระบบจะแสดงหน้าต่าง Code สำหรับติดตั้ง Google Tag Manager สำหรับเว็บไซต์ขึ้นมา
การติดตั้้ง Google Tag Manager บนเว็บไซต์
เว็บไซต์ทั่วไป – นำโค้ดเบอร์ 1 ไปติดตั้งภายใต้แท็ก , โค้ดเบอร์ 2 ไปติดตั้งภายใต้แท็ก ของทุกหน้าเว็บ
WordPress CMS – แนะนำให้ลง Plugin – Insert Headers and Footers และนำโค้ดเบอร์ 1 ไปใส่ไว้ใน Tag HTML head, ส่วนโค้ดเบอร์ 2 นำไปใส่ไว้ใน Tag HTML Body
เมื่อติดตั้งโค้ดลงบนเว็บไซต์เรียบร้อย ให้คลิกที่ปุ่ม OK เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการสมัครและติดตั้ง ก็จะเข้าสู่หน้า Workspace
การเชื่อมต่อกับ Google Analytics 4
การเชื่อมต่อ Google Analytics 4 เข้ากับ Google Tag Manager นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ที่หน้า Workspace ตรง New Tag คลิกที่ Add a new tag

2. ตั้งชื่อ Tag และคลิกที่ไอคอนรูปดินสอทางขวามือ เพื่อเข้าไปเลือกประเภทของ Tag

3. เลือกเป็น Google Analytics: GA4 Configuration

4. ต่อมาที่ Tag Configuration ที่ช่อง Measurement ID ให้ใส่ Measurement ID จาก Google Analytics 4 ที่สร้างไว้


5. ที่ Triggering คลิกที่ไอคอนรูปดินสอ เพื่อเข้าไปเลือกประเภทของ Trigger ให้เลือกเป็น All Pages

6. ต่อมาให้คลิกที่ปุ่ม Save

7. เมื่อกลับไปที่หน้า Workspace ให้คลิกที่ปุ่ม Submit เพื่อให้การตั้งค่าทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์
การตรวจสอบว่า Google Analytics 4 เชื่อมต่อกับ Google Tag Manager แล้ว

ที่หน้า Wordspace ให้คลิกที่ปุ่ม Preview

จากนั้นใส่ URL ของเว็บ ในช่อง Your website’s URL แล้วคลิกที่ Connect

หน้าเว็บจะถูกเปิดขึ้นมา ให้สังเกตที่มุมขวาล่าง จะมี popup Tag Assisant ขึ้นมา ถ้าแสดงคำว่า Tag Assistant Connected ก็แสดงว่าการ Google Analytics 4 กับ Google Tag Manager สมบูรณ์แล้ว


ให้คลิกปุ่มอะไรก็ได้จากหน้าเว็บที่เปิดขึ้นมาทดสอบ จะสังเกตว่าที่เมนู Summary จะแสดงว่าเราคลิกอะไรไปบ้าง