แนะนำ 10 ปลั๊กอิน WordPress แบบฟรีเวอร์ชั่น ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บของคุณ สำหรับคนที่ยังไม่รู้ว่าปลั๊กอินคืออะไร สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ Plugin WordPress คืออะไร
หนึ่งในปัญหาที่น่าปวดหัวของมือใหม่ที่เริ่มต้นใช้งาน WordPress นั้น ต้องมีเรื่องของการเลือกใช้ปลั๊กอินอย่างแน่นอน โดย WordPress มีปลั๊กอินฟรีออกมาแล้วมากกว่า 58,xxx ตัว ซึ่งถือว่าเยอะมากๆ ด้วยความที่มีจำนวนมากนี่เอง ทำให้อาจจะเลือกไม่ถูกว่าจะใช้ปลั๊กอินตัวไหนดี การที่จะมาลองผิดลองถูก ลงเพื่อลองใช้ทุกตัวก็ดูจะทำให้เสียเวลาไปหน่อย และการลงปลั๊กอินที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเสียหายกับเว็บไซต์ของเราได้โดยความไม่ตั้งใจ สำหรับมือใหม่แล้ว 10 ปลั๊กอิน WordPress ที่แนะนำนี้เป็นปลั๊กอินเริ่มต้นที่ควรจะมีไว้
1. Gutenberg Blocks by Kadence Blocks
2. GenerateBlocks
3. Elementor Page Builder
4. Essential Addons for Elementor
5. Qi Addons For Elementor
6. Rank Math SEO
7. Contact Form 7
8. WP Mail SMTP
9. WordFence
10. Insert Headers and Footers

1. Gutenberg Blocks by Kadence Blocks
Gutenberg Blocks by Kadence Blocks เป็นปลั๊กอินส่วนเสริมของ Gutenberg Blocks
*Gutenberg คือ WordPress Block Editor ตัวใหม่ที่ WordPress(เวอร์ชั่น 5 ขึ้นไป) เลือกมาใช้แทน TinyMCE ที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน
Gutenberg Blocks by Kadence Blocks มีเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Post และ Page ที่มีทั้งเวอร์ชั่นฟรี และเวอร์ชั่น Pro โดย Kadence Blocks เวอร์ชั่นฟรีจะมี Block ต่างๆดังนี้
Row Layout | Demo
Advanced Gallery | Demo
Form | Demo
Advanced Heading | Demo
Advanced Button | Demo
Tabs | Demo
Accordion | Demo
Testimonials | Demo
Icon | Demo
Spacer / Divider | Demo
Info Box | Demo
Icon List | Demo
ข้อดีของ Kadence Blocks อย่างนึงถ้าเทียบกับ Page Builder อย่าง Divi หรือ Elementor แล้วจะใช้งานได้ง่ายกว่า โดยถ้าเทียบฟังก์ชั่นเดียวกันแล้ว Kadence Blocks จะทำงานได้เร็วกว่า, น้ำหนักเบากว่า และผู้ใช้งานทั่วๆไปสามารถใช้เวลาเรียนรู้ได้เร็วกว่า
Download Plugin Kadence Blocks ได้จากที่นี่ : https://wordpress.org/plugins/kadence-blocks/

2. GenerateBlocks
เป็นปลั๊กอินส่วนเสริมของ Gutenberg WordPress Blocks ที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างหน้า Post หรือ Page ได้อย่างรวดเร็วและใกล้เคียงกับการใช้ Page Builder มากๆ
GenerateBlocks มาพร้อมกับ 4 Blocks คือ
Container ใช้สร้าง row และ sections
Grid ใช้สร้าง Layout ขั้นสูง
Headline ใช้สร้างเนื้อหาประเภทข้อความ
Buttons ใช้สร้างปุ่ม
โดย Blocks ทั้งหมดสามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น Margin, Padding, Color รวมถึงรูปแบบข้อความ ขนาด ต่างๆ
Download Plugin GenerateBlocks ได้จากที่นี่ : https://wordpress.org/plugins/generateblocks/

3. Elementor Page Builder
Elementor คือ Plugin ประเภท Page Builder ที่ใช้สร้าง Post และ Page ใน WordPress สามารถปรับแต่งตัว section, column และ widget ต่างได้ค่อนข้างละเอียด คอนเซ็ปการทำงานคือการ Drag-and-Drop โดยการเลือก Block ที่ต้องการลากและนำไปวางบนหน้าต่างๆและปรับแต่งการใช้งานได้เลย
โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้ Elementor ในการสร้างเนื้อหาประเภท Page มากกว่า Post เพราะเนื้อหาประเภท Page มักจะมี Layout ของแต่ละหน้าที่ไม่เหมือนกัน เช่นหน้า Home, Product, About, Contact เป็นต้น
Download Plugin Elementor Page Builder ได้จากที่นี่ : https://wordpress.org/plugins/elementor/

4. Essential Addons for Elementor
Essential Addons for Elementor เป็น Plugin ส่วนเสริมของ Elementor ที่่จะเพิ่ม Widgets ต่างๆ ให้กับ Elementor
ตัวอย่าง Widgets ที่น่าสนใจที่อยากจะแนะนำก็คือ Filterable Gallery เป็น Widgets แกลลอรี่ภาพที่สามารถแยกหมวดหมู่ของภาพได้ ซึ่ง Widgets ลักษณะนี้จริงๆแล้ว Elementor ก็มี แต่จะเป็น Elementor Pro ที่ต้องเสียเงินซื้อ
ฟังก์ชั่นที่ติดมากับ Essential Addons for Elementor ที่ดีมากๆ คือฟังก์ชั่นการ Duplicate Post & Page โดยที่เราไม่ต้องไปลง Plugin อย่าง Duplicate Page เพิ่มอีก
Download Plugin Essential Addons for Elementor ได้จากที่นี่ : https://wordpress.org/plugins/essential-addons-for-elementor-lite/

5. Qi Addons For Elementor
Qi Addons For Elementor เป็น Plugin ส่วนเสริมของ Elementor ที่่จะเพิ่ม Widgets ต่างๆ ให้กับ Elementor สำหรับ Plugin ตัวนี้เพิ่งจะออกมาในปี 2021 Plugin Qi มี Widgets ที่น่าสนใจมากมาย สำหรับเวอร์ชั่นฟรีจะมี Widgets มา 60 Widgets ซึ่งถือว่าค่อนข้างเยอะสำหรับ Plugin ฟรี
ตัวอย่าง Widgets ที่น่าสนใจ
– Infographics Addons | Counters สำหรับใช้รันตัวเลข, Process ใช้แสดงข้อมูลเป็นลำดับขั้น เป็นต้น
– Showcase | Dual Image with Content สามารถลงภาพซ้อนกันสองภาพได้ใน Column เดียวกัน หรือ Before/After Comparison ใช้แสดงภาพในแนวการเปรียบเทียบก่อนและหลัง โดยใช้วิธีคลิกลากเพื่อเปลี่ยนภาพ
เข้าที่ดูตัวอย่างการใช้งานได้ที่ https://qodeinteractive.com/qi-addons-for-elementor/ คลิกที่เมนู ALL WIDGETS
Download Plugin Qi Addons For Elementor ได้จากที่นี่ : https://wordpress.org/plugins/qi-addons-for-elementor/

6. Rank Math SEO
ถ้าพูดถึง Plugin ที่ใช้ทำ SEO สำหรับ WordPress หลายคนอาจจะคุ้นกับ Yoast SEO กัน เพราะเป็น Plugin ประเภท SEO ที่มียอดโหลดอันดับ 1 แต่ว่าช่วง 1-2 ปีหลังมานี้ Rank Math SEO ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมีคุณสมบัติทัดเทียมกับ Yoast SEO แต่ว่ามีประสิทธิภาพที่ดีกว่า Yoast SEO แบบฟรีในหลายๆด้าน
เช่น
- Support การทำงานกับ WooCommerce ซึ่งถ้าเป็น Yoast SEO ต้องเป็นเวอร์ชั่นเสียเงิน
- ฟังก์ชั่น 404 Monitor ซึ่งถ้าเป็น Yoast SEO ต้องเป็นเวอร์ชั่นเสียเงิน
และยังมีฟังก์ชั่น Advanced Options Importer ที่หากต้องการย้ายจาก Plugin SEO อื่นเช่น Yoast SEO หรือ All in One SEO Pack ก็สามารถ Import การตั้งค่า SEO พื้นฐานต่าง ๆ ที่เคยตั้งค่าไว้สำหรับ WordPress และ Post/Page มาใช้งานบน Rank Math SEO ได้ทันที
Download Plugin Rank Math SEO ได้จากที่นี่ : https://wordpress.org/plugins/seo-by-rank-math/

7. Contact Form 7
Contact Form 7 คือ Plugin ที่ใช้สร้างฟอร์มบน WordPress เช่นสร้าง Contact Form ไว้สำหรับให้ผู้ใช้เว็บติดต่อกับเว็บได้ Contact Form 7 เป็น Plugin ประเภทสร้าง Form ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด มีขนาดที่เบา เร็ว การใช้งานที่ง่าย แม้ว่าการใช้งานยังคงรูปแบบเดิมคือ Shortcode tag แต่ด้วยความเรียบง่ายและเบานี่เอง ทำให้ยังได้รับความนิยมอยู่ในระดับสูง
Download Plugin Contact Form 7 ได้จากที่นี่ : https://wordpress.org/plugins/contact-form-7/

8. WP Mail SMTP
การส่งอีเมลใน WordPress นั้นโดยปกติแล้วจะใช้ฟังก์ชั่น PHP mail() ในการส่ง แต่ก็มักจะมีปัญหาเรื่องอีเมลส่งไปไม่ถึง หรืออีเมลเข้าไปอยู่ในถังขยะอยู่บ่อยๆ ทำให้ปลายทางไม่ได้รับอีเมล์หรือปลายทางไมได้เช็คที่ถังขยะ ปัญหานี้แก้ไขได้โดยเปลี่ยนมาใช้วิธีการส่งออกอีเมลเป็นแบบ SMTP โดย Plugin แนวนี้ที่ได้รับความนิยมก็คือ WP Mail SMTP
ข้อดีของการใช้ SMTP ในการส่งอีเมล คือเราสามารถใช้ SMTP ของ Gmail ในการใช้ส่งอีเมลได้
Download Plugin WP Mail SMTP ได้จากที่นี่ : https://wordpress.org/plugins/wp-mail-smtp/

9. WordFence
สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับเว็บไซต์ก็คือเรื่องของระบบ Security ที่จะช่วยปกป้องเว็บไซต์ของคุณจากภัยคุกคามจากแฮกเกอร์ เช่นการ Hack เข้ามาเพื่อแก้ไขไฟล์ต่างๆ หรือ Malware เป็นต้น WordFence สามารถตั้งค่า Malware Scan, การกำหนด Brute Force Protection หรือระบบ Login Security ที่เราสามารถตั้งค่า 2FA หรือ 2 Factor Authentication ได้
Download Plugin WordFence ได้จากที่นี่ : https://wordpress.org/plugins/wordfence/

10. Insert Headers and Footers
Insert Headers and Footers คือ Plugin ที่ช่วยให้เราสามารถแทรก Code ลงใน Header, Body และ Footer ของเว็บ เช่น ใส่ Script Google Analytics ลงใน Header หรือใส่ Script Google Tag Manager ลงใน Body เป็นต้น คือโดยปกติแล้วเราต้องใส่ Script Google Analytics ที่ไฟล์ header.php ของธีมที่ใช้อยู่ การใช้ Plugin Insert Headers and Footers จะช่วยทำให้ง่ายขึ้นและป้องกันความผิดพลาดในกรณีที่นำ Script ไปวางที่ไฟล์ header.php โดยตรง ซึ่งอาจจะเผลอไปลบ Code อื่นๆโดยไม่ตั้งใจได้
Download Plugin Insert Headers and Footers ได้จากที่นี่ : https://wordpress.org/plugins/insert-headers-and-footers/
ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Plugin
Plugin คือส่วนเสริมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ WordPress ซึ่งเป็น CMS ที่ได้รับความนิยมสูง ถึงแม้ว่า Plugin จะมีข้อดีมากมาย แต่ก็ไม่ควรติดตั้งเยอะจนเกินไป เพราะจะส่งผลให้ WordPress ทำงานได้ช้าลง หรือปัญหาเรื่องความไม่เข้ากันของแต่ละ Plugin ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอ
และมีข้อแนะนำเกี่ยวกับ Plugin อีกอย่างนึงก็คือเรื่องของการอัปเดต โดยปกติแล้วทุก Plugin จะมีการปล่อยเวอร์ชั่นใหม่ออกมาอยู่เรื่อยๆ ข้อแนะนำคือควรเข้าไปดู Changelog ก่อนว่าทางเจ้าของ Plugin แจ้งรายละเอียดว่ามีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมส่วนไหนบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อศึกษาข้อมูลเอาไว้ก่อนว่าเมื่ออัปเดตแล้วจะมีผลกระทบใดเกิดขึ้นบ้าง เพราะบ่อยครั้งที่เมื่ออัปเดต Plugin แล้วส่งผลกระทบกับ WordPress อันเนื่องมาจากข้อผิดพลาดของ Plugin นั้นๆ เอง
วิธีที่แนะนำก็คือ เมื่อเห็นว่ามีการแจ้งเตือน ให้ใจเย็นๆอย่าเพิ่งรีบกดอัปเดต Plugin ให้รอสัก 1 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย เพราะโดยปกติถ้ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากเวอร์ชั่นอัปเดต เจ้าของ Plugin นั้นๆ มักจะส่งเวอร์ชั่นแก้ไขมาในเวลาอันรวดเร็วไม่เกิน 1-2 วัน เมื่อดูแล้วว่าอัปเดตล่าสุดของ Plugin คือ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มั่นใจได้เลยว่าเวอร์ชั่นอัปเดตนั้นไม่มีปัญหาใดๆ
สุดท้ายนี้ก็หวังว่ารีวิว 10 ปลั๊กอิน WordPress ที่แนะนำให้มีไว้ประจำเว็บ (ฟรีเวอร์ชั่น) คงจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้งาน WordPress นะครับ